คลังเก็บหมวดหมู่: ไม่มีหมวดหมู่

แบบทดสอบ เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์

https://forms.gle/oGBUtBv6SQxEbiKb8

แบบทดสอบเรื่องระบบหมุนเวียนเลือดของ จำนวน 15 ข้อ
ให้นักเรียนเข้าทำแบบทดสอบโดยเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ (ตอนที่ 2) : การคุมกำเนิดและเทคโนโลยีช่วยให้มีบุตร

13.1  การคุมกำเนิด
          สามีภรรยาบางคู่ยังไม่พร้อมมีบุตร  ส่วนสามีภรรยาบางคู่มีบุตรเพียงพอกับความต้องการแล้ว
จึงต้องมีการคุมกำเนิดเพื่อไม่ให้
มีบุตรอีก ซึ่งการคุมกำเนิด  เป็นวิธีการที่ป้องกันไม่ให้เกิดการ
ตั้งครรภ์ขึ้น  การคุมกำเนิดมีหลายวิธี  ดังนี้
          1)  วิธีธรรมชาติ  วิธีหนึ่งคือการมีเพศสัมพันธ์เฉพาะในช่วงเวลาของรอบเดือนที่เซลล์ไข่
และเซลล์อสุจิไม่มีโอกาสปฏิสนธิ คือระยะเวลา 7 วัน ก่อนมีประจำเดือน และนับจากวันแรกที่มี
ประจำเดือนไปอีก 7 วัน
           2)  การคุมกำเนิดโดยใช้อุปกรณ์  เพศชายใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์อสุจิ
เข้าไปในช่องคลอด  อีกทั้งยังเป็นการป้องกันโรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์  เช่น  โรคหนองใน
โรคซิฟิลิส  และโรคเอดส์  ซึ่งเป็นโรคที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต  ส่วนในเพศหญิงใช้ห่วงคุมกำเนิด
ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ใส่เข้าไปในมดลูก  เป็นการป้องกันไม่ให้เอ็มบริโอไปฝังตัวที่ผนังมดลูก
          3)  การคุมกำเนิดโดยใช้สารเคมี เช่น ยาคุมกำเนิด โดยการรับประทาน ฉีดหรือ
ฝังใต้ผิวหนัง  ยาคุมกำเนิดนี้มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศหญิง ที่จะยับยั้งไม่ให้มีการตกไข่
หรือทำให้สภาพของผนังมดลูกไม่เหมาะสมสำหรับการฝังตัวของเอ็มบริโอ
          4)  การผ่าตัดทำหมัน  เป็นการคุมกำเนิดที่ได้ผลดีที่สุด  ในเพศชายแพทย์จะทำโดย
ผูกและตัดหลอดนำอสุจิให้แยกจากกันเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์อสุจิเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่
สำหรับการทำหมันในเพศหญิง แพทย์จะผูกและตัดท่อนำไข่ แต่ละข้างเพื่อป้องกันไม่ให้
เซลล์ไข่เคลื่อนไปตามท่อนำไข่เซลล์อสุจิ  จึงไม่สามารถผสมกับเซลล์ไข่ได้ ดังภาพที่ 13.1

ภาพที่ 13.1
ก. การผูกและตัดท่อนำอสุจิในการทำหมันชาย
ข. การผูกและตัดท่อนำไข่ในการทำหมันหญิง
ที่มาภาพ : หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม. 2 หน้า 52

13.2   เทคโนโลยีที่ช่วยให้มีบุตร
           สามีภรรยาบางคู่ประสบปัญหาการมีบุตรยาก จึงต้องใช้ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์

การแพทย์ช่วยให้มีบุตร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์หลายอย่างที่ช่วยแก้ปัญหาการ
มีบุตรยาก ได้แก่
            1)  การทำกิฟท์ ( GIFT , Gamete  Intra – FaIIopian Transfer ) คือ การนำเอาไข่
และตัวอสุจิไปใส่ไว้ที่ท่อนำไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิหรือรวมตัวกันตามธรรมชาติ หลังจากนั้นหากไข่
และอสุจิสามารถปฏิสนธิกันได้ก็จะมีการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนและเดินทางมาฝังตัวในโพรงมดลูก
และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ในที่สุด  ดังภาพที่ 13.2

ภาพที่ 13.2 การทำกิฟท์
ที่มาภาพ : http://www.jetanin.com/th/service/archive_detail/2

          2) การปฏิสนธิในหลอดแก้ว (IVF, in vitro fertilization)  เป็นเทคโนโลยีที่ช่วย
แก้ปัญหาการมีบุตรยากในกรณีที่การปฏิสนธิภายในท่อนำไข่เกิดขึ้นได้ยาก เช่น กรณีท่อนำไข่ตีบตัน
ทำให้เซลล์อสุจิไม่สามารถเข้าผสมกับเซลล์ไข่ได้   จึงต้องนำเซลล์ไข่และเซลล์อสุจิออกมาผสมกัน
ภายในหลอดทดลอง โดยการใช้ฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่สุกและเกิดการตกไข่ แล้วดูดเซลล์ไข่ออกมา
นำไปผสมกับเซลล์อสุจิในจานแก้วหรือหลอดทดลอง ที่มีอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญของเอ็มบริโอ
จนได้เอ็มบริโอระยะ 4-8 เซลล์  จึงนำเอ็มบริโอใส่กลับเข้าไปในมดลูก เพื่อฝังตัวและเจริญเติบโตต่อไป
ดังภาพที่  13.3

ภาพที่ 13.3 การทำเด็กหลอดแก้ว
ที่มาภาพ : https://lifeivfcenter.com/ivf-treatments/

          3)  การทำซิฟท์ (ZIFT, zygote intrafallopian-tube transfer) คือ การรักษาภาวะ
มีบุตรยากในคู่สมรสที่ไข่และอสุจิไม่สามารถพบกันเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก
ท่อนำไข่ทำงานผิดปกติ  มีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่   ฝ่ายชายมีจำนวนตัวอสุจิน้อยกว่าปกติ
เป็นวิธีการที่ผสมผสานระหว่างการปฏิสนธิภายในหลอดแก้วและกิฟท์ โดยนำเซลล์ไข่และ
เซลล์อสุจิมาผสมกันภายนอกร่างกายได้เป็นไซโกต จากนั้นจึงนำไซโกตใส่คืนเข้าสู่ท่อนำไข่
ซึ่งไซโกต จะมีการแบ่งตัวและเจริญเป็นตัวอ่อนในท่อนำไข่และเคลื่อนที่ไปฝังตัวที่มดลูกต่อไป
ดังภาพที่ 13.4

ภาพที่ 13.4 การทำซิฟท์
ที่มาภาพ : http://www.jetanin.com/th/service/archive_detail/22

          4) อิ๊กซี่ (ICSI, intracytoplasmic sperm injection) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แก้ปัญหา
ภาวะมีบุตรยากที่มีสาเหตุจากผู้ชาย เช่น กรณีจำนวนอสุจิน้อย การเคลื่อนที่ของอสุจิไม่ดี
รูปร่างของอสุจิผิดปกติ เป็นต้น ส่งผลให้การรวมระหว่างเซลล์ไข่และเซลล์อสุจิเกิดขึ้นยาก
ขั้นตอนของอิ๊กซี่คล้ายกับการปฏิสนธิภายในหลอดแก้ว ต่างกันตรงที่การปฏิสนธิในหลอดแก้วนั้น
การรวมระหว่างเซลล์อสุจิและเซลล์ไข่เกิดขึ้นเอง ส่วนอิ๊กซี่นั้นเป็นการฉีดเซลล์อสุจิเข้าไป
ในไซโทพลาซึมของเซลล์ไข่โดยตรง  จากนั้นจึงนำตัวอ่อนเข้าสู่มดลูกเพื่อให้เจริญเติบโตต่อไป
ดังภาพที่ 13.5

ภาพที่ 13.5 การทำอิ๊กซี่
ที่มาภาพ : http://www.sfc.co.th/icsi

รวบรวมจาก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2554. หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ 4 . กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
ศรีลักษณ์  ผลวัฒนะ เจียมจิต กุลมาลา . 2559. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม .2 . กรุงเทพฯ :
บริษัทแมกแอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
http://www.jetanin.com/th/service/technology_detail/ สืบค้นเมื่อ 15 พ.ค. 60
http://119.46.166.126/self_all/selfaccess8/m2/559/lesson1/web/lesson2_6.php
สืบค้นเมื่อ 15 พ.ค. 60

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์

การสืบพันธุ์เป็นสมบัติหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีการดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้   โดยไม่สูญพันธุ์ มนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยระบบสืบพันธุ์เพศชายและเพศหญิงจะมีอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ที่ทำหน้าที่เฉพาะ ดังนี้

12.1 ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
          ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ อัณฑะและอวัยวะอื่น ๆ เช่น หลอดเก็บอสุจิ
หลอดนำอสุจิ ท่อปัสสาวะ รวมถึงต่อมต่าง ๆ เช่น ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ต่อมลูกหมาก และต่อมคาวเปอร์
ดังภาพที่ 12.1

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

ภาพที่  12.1 อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ที่มาภาพ : https://sites.google.com/site/bio411rnd/the-team

เซลล์อสุจิจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง ดังภาพที่ 12.2

ภาพที่ 12.2 ส่วนประกอบของอสุจิ
ที่มาภาพ : http://www.krusarawut.net/wp/?p=

ขั้นตอนในการสร้างเซลล์อสุจิและการหลั่งน้ำอสุจิ มีดังนี้
             เซลล์อสุจิถูกสร้างขึ้นในหลอดสร้างอสุจิซึ่งอยู่ภายในอัณฑะ เซลล์อสุจิจะเคลื่อนที่จากอัณฑะมาเก็บในหลอดเก็บอสุจิซึ่งเป็นแหล่งให้อสุจิเติบโตเต็มที่ เมื่อมีการหลั่งอสุจิเซลล์อสุจิจะถูกลำเลียงมาตามหลอดนำอสุจิมายังท่อปัสสาวะ  ก่อนที่เซลล์อสุจิจะเข้าสู่ท่อปัสสาวะต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิจะหลั่งของเหลวที่มีอาหารสำหรับเซลล์อสุจิ ต่อมลูกหมากหลั่งของเหลวที่เป็นเบสอ่อน ๆ เพื่อลดความเป็นกรดในช่องคลอด ต่อมคาวเปอร์หลั่งของเหลวสำหรับหล่อลื่นท่อปัสสาวะ เซลล์อสุจิและของเหลวจากต่อมต่าง ๆ  รวมกัน เรียกว่า น้ำอสุจิ
โดยปกติเพศชายจะเริ่มสร้างเซลล์อสุจิได้เมื่ออายุประมาณ 12 – 13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต
ส่วนการหลั่งน้ำอสุจิในแต่ละครั้งจะมีของเหลวออกมาเฉลี่ยประมาณ 3 – 4 ลูกบาศก์เซนติเมตรและมีเซลล์อสุจิเฉลี่ยประมาณ350 – 500 ล้านตัว สำหรับชายที่เป็นหมันจะมีเซลล์อสุจิน้อยกว่า 30 – 50 ล้านตัวต่อลูกบาศก์เซนติเมตรหรือมีเซลล์อสุจิที่ผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 เซลล์   อสุจิมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จะมีชีวิตอยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นานประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง

12.2  ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
          ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ รังไข่ และอวัยวะอื่น ๆ  คือ มดลูก ท่อนำไข่
และช่องคลอด  ดังภาพที่ 12.3

ภาพที่  12.3 อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
ที่มาภาพ : http://www.krusarawut.net/wp/?p=3085

 

 

ภาพที่ 12.4 การเคลื่อนที่ของเซลล์ไข่และการเปลี่ยนแปลงผนังมดลูก
ที่มา :   สสวท.(2554). หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 4

          ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 10 – 13 ปี จนกระทั่งหยุดเมื่ออายุประมาณ 40 – 50 ปี
การมีประจำเดือนแต่ละครั้งห่างกัน 21 – 35 วัน หรือ 28 วันโดยเฉลี่ย หรือหนึ่งรอบเดือน
โดยการตกไข่จะเกิดขึ้นกึ่งกลางรอบเดือน ซึ่งการตกไข่จะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนเพศหญิง

12.3 การตั้งครรภ์และการคลอด
         เมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอดของเพศหญิง เซลล์อสุจินับล้านตัวจะเคลื่อนที่เข้าไปในมดลูก
โดยจะมีเซลล์อสุจิเพียง 1 เซลล์เท่านั้นที่จะเข้าไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่บริเวณท่อนำไข่ โดยนิวเคลียสของเซลล์อสุจิจะรวมตัวกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่ เกิดเป็นไซโกต หลังจากนั้นไซโกตจะมีการแบ่งเซลล์จาก
1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ จาก 2 เซลล์เป็น 4 เซลล์ และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นทวีคูณ  จนกลายเป็นเอ็มบริโอ แล้วเอ็มบริโอจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปเรื่อย ๆ  ขณะเคลื่อนที่ไปตามท่อนำไข่  เพื่อไปฝังตัวในผนังมดลูก
ดังภาพที่ 12.5

ภาพที่ 12.5 การเคลื่อนที่ของเซลล์ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ แล้วไปฝังตัวที่ผนังมดลูก
ที่มาภาพ :  http://www.pw.ac.th/bodysystem/rep/page/p3.html

          เอ็มบริโอจะได้รับอาหาร แก๊สออกซิเจน แอนติบอดีจากแม่ผ่านทางหลอดเลือดฝอยของแม่และ
ของเสียต่าง ๆ  จะแพร่เข้าหลอดเลือดฝอยของแม่โดยผ่านทางรก และกำจัดออกจากร่างกายต่อไป ดังภาพที่ 12.6

ภาพที่ 12.6 การแลกเปลี่ยนอาหาร อากาศและของเสียจากทารกในครรภ์
ที่มาภาพ :  http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter5/placental.htm

ภาพที่ 12.7 การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอจนกระทั่งคลอด
ที่มาภาพ : http://119.46.166.126/self_all/selfaccess8/m2/559/lesson1/web/lesson2_6.

          มนุษย์มีระยะเวลาตั้งครรภ์นานประมาณ 280  วัน  หรือ  40 สัปดาห์ นับจากวันแรกของการมี
ประจำเดือนครั้งสุดท้าย  เมื่อถึงกำหนดคลอดจะมีฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวอย่างแรงและถี่ขึ้น  และมีการหดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องทำให้ทารกผ่านออกมาทางช่องคลอด
ในการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นโดยปกติ  พบว่าเซลล์อสุจิ  1  เซลล์จะผสมกับเซลล์ไข่ 1 เซลล์  เกิดเป็นทารก 1 คนแต่บางครั้งในขณะที่ ไซโกตกำลังแบ่งเซลล์จาก 1 เซลล์ เป็น  2 เซลล์นั้น  เซลล์อาจแยกขาดจากกัน  แล้วต่างเจริญเป็นเติบโตเอ็มบริโอภายในมดลูกได้  เมื่อคลอดออกมาจะได้ทารก 2 คน ที่มีเพศเดียวกัน
และมีลักษณะเหมือนกันเกือบทุกอย่าง  แฝดประเภทนี้  เรียกว่า  แฝดร่วมไข่  แต่หากเกิดการตกไข่
พร้อมกัน  2 เซลล์ หรือมากกว่าในเวลาเดียวกัน เซลล์ไข่แต่ละเซลล์ปฏิสนธิในเวลาใกล้เคียงกัน และต่างเจริญเป็นเอ็มบริโออยู่ในมดลูก  โดยมีรกแยกกัน  แฝดประเภทนี้เรียกว่า แฝดต่างไข่ แฝดต่างไข่อาจเป็น
เพศเดียวกันหรือต่างเพศกันก็ได้  ดังภาพที่ 12.8

 

ภาพที่ 12.8 การเกิดแฝดร่วมไข่และแฝดต่างไข่
ที่มาภาพ : ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 52

วีดิทัศน์เพิ่มเติมประสบการณ์  

วีดิทัศน์ที่ 12.1 การตกไข่ (Ovulation)
ที่มาวีดิทัศน์ : https://www.youtube.com/watch?v=mcP9fkXkL80

 

วีดิทัศน์ที่ 12.2 การปฏิสนธิ
ที่มาวีดิทัศน์ : https://www.youtube.com/watch?v=mcP9fkXkL80

วีดิทัศน์ที่ 12.3 กำเนิดมนุษย์
ที่มาวีดิทัศน์ : https://www.youtube.com/watch?v=ogachB3c0S4

รวบรวมจาก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2554. หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ 4 . กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และคณะ . 2560.ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชการ (พว)
ศรีลักษณ์  ผลวัฒนะ เจียมจิต กุลมาลา . 2559. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม .2 . กรุงเทพฯ :
บริษัทแมกแอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

ระบบประสาทของมนุษย์และการแสดงพฤติกรรม

มนุษย์และสัตว์มีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกาย โดยการแสดงพฤติกรรม
ต่างๆ  ออกมา  ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นเกิดจากการทำงานของระบบประสาทในการตอบสนอง
ต่อสิ่งแวดล้อม   ระบบประสาทของมนุษย์ประกอบด้วย สมอง ไขสันหลังและเส้นประสาท ดังภาพที่ 10.1

ภาพที่ 10.1 ระบบประสาทของมนุษย์
ที่มาภาพ : http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson5.php

10.1 ระบบประสาทของมนุษย์

สมอง

ภาพที่ 10.2 ส่วนต่าง ๆ ของสมอง
ที่มาภาพ : https://twitter.com/engineeringbuu/status/758684149427286017

ไขสันหลัง   เป็นเนื้อเยื่อประสาทที่ทอดยาวจากสมองไปภายในโพรงกระดูกสันหลัง กระแสประสาท
จากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะผ่านไขสันหลัง มีทั้งกระแสประสาทเข้าและกระแสประสาทออกจาก
สมอง และกระแสประสาทที่เข้าและออกจากไขสันหลังโดยตรง

ภาพที่ 10.3  ไขสันหลัง
ที่มาภาพ : http://www.thaigoodview.com/node/89203

            ภายในสมองและไขสันหลังประกอบด้วยเซลล์ประสาท ดังภาพที่ 10.4 ซึ่งเซลล์ประสาท
ประกอบด้วยโครงสร้างสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ตัวเซลล์ ซึ่งประกอบด้วยนิวเคลียสและไซโทพลาซึม
และเส้นใยประสาท เป็นส่วนของเซลล์ที่มีลักษณะเป็นแขนงเล็ก ๆ ยื่นออกจากตัวเซลล์ แบ่งออก
เป็น 2 พวก ได้แก่  เดนไดรต์  ทำหน้าที่รับกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ และแอกซอนทำหน้าที่
นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์

ภาพที่ 10.4 โครงสร้างของเซลล์ประสาท
ที่มาภาพ : http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/63443/-blo-

เส้นประสาท   เป็นมัดของเส้นใยประสาทหลาย ๆ มัด  รวมกันเป็น เส้นประสาท โดยเส้นประสาท
จะเชื่อมต่อระหว่างอวัยวะต่าง ๆ กับสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่เป็นตัวรับข้อมูลจากสมองและ
ไขสันหลัง  ส่งต่อไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย  หรือรับข้อมูลจากอวัยวะต่าง ๆ แล้วส่งไปยังสมอง
และไขสันหลัง ข้อมูลที่เคลื่อนที่ไปตามเส้นประสาท อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า เรียกว่ากระแสประสาท
เส้นประสาทแบ่งออกได้เป็น  2 ประเภท ได้แก่ เส้นประสาทสมอง เป็นเส้นประสาทที่แยกออกจาก
สมองมี 12 คู่ และเส้นประสาทไขสันหลัง เป็นเส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมี 31 คู่

ภาพที่ 10.5 เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง
ที่มาภาพ : http://decimotenpanm.blogspot.com/2012/12/blog-post.html

            เมื่อมีสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ กลิ่น รส  มากระตุ้น อวัยวะรับสัมผัส  จะทำให้มนุษย์
และสัตว์จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา ซึ่งสิ่งเร้าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. สิ่งเร้าภายนอก (External stimulus) เช่น อุณหภูมิ แสง เสียง สารเคมี ความชื้น กลิ่น
และแรงดึงดูดของโลก ตัวอย่างพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเราภายนอก ได้แก่ เมื่อแสงสว่างจ้า
มนุษย์จะหรี่ตาเพื่อลดปริมาณแสงที่เข้าตา  ในวันที่อากาศร้อนควายจะนอนแช่ในแอ่งน้ำเพื่อระบาย
ความร้อน เป็นต้น
2. สิ่งเร้าภายใน (Internal stimulus) เช่น การเปลี่ยนแปลงสรีระที่เกิดขึ้นในร่างกาย เช่น
ระดับออกซิเจนในเลือด ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว  ตัวอย่างพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายใน
ได้แก่ เมื่อไม่มีอาหารในกระเพาะอาหารเราจะรู้สึกหิวแล้วหาอาหารมารับประทาน พฤติกรรมการจับคู่
ผสมพันธุ์ของสัตว์ เมื่อสัตว์เจริญเติบโตเต็มที่จะสามารถหลั่งฮอร์โมนเพศ  สัตว์จึงเกิดพฤติกรรม
การผสมพันธุ์ เป็นต้น
มนุษย์และสัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ ความดัน ความหิว ความกระหาย
โดยใช้อวัยวะรับความรู้สึก เช่น นัยย์ตารับแสง หูรับเสียง ผิวหนังรับความดันและอุณหภูมิ  แล้วส่ง
กระแสประสาทไปตามเส้นประสาท เข้าสู่ไขสันหลังหรือสมอง จากนั้นไขสันหลังหรือสมอง
จะส่งคำสั่งไปยับยั้งหรือกระตุ้นการทำงานของต่อมหรืออวัยวะที่เกี่ยวข้องส่งผลให้เกิดพฤติกรรม
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้  ดังแผนภาพที่ 10

พฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดและพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ และเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ใช้ตอบสนองสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แสง เสียง สารเคมี ช่วงเวลา หรือการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล เป็นต้น การแสดงพฤติกรรมแบบนี้เกิดจากพันธุกรรมเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ และมีแบบแผนที่แน่นอนเฉพาะตัว ดังนั้นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแสดงพฤติกรรมเหมือนกันหมด เช่น การดูดนมของทารก การกระพริบตาเมื่อผงเข้าตา การชักใยของแมงมุม การหนีแสงของไส้เดือน เป็นต้น

ภาพที่ 10.6 การชักใยของแมงมุม

 

 ภาพที่ 10.7 การดูดนมของทารก

2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้หรือประสบการณ์
เช่น ลูกเป็ดเดินตามแม่เป็ด การเลิกแหงนมองตามเสียงเครื่องบินของสุนัขที่อาศัยอยู่แถวสนามบิน
เด็กเขียนหนังสือ  คนฝึกว่ายน้ำ เป็นต้น

ภาพที่ 10.8 ลูกเป็ดเดินตามแม่เป็ด

ภาพที่ 10.9 เด็กฝึกเขียนตัวหนังสือ

 

รวบรวมจาก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2554. หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ 4 . กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และคณะ . 2560.ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชการ (พว)
ศรีลักษณ์  ผลวัฒนะ เจียมจิต กุลมาลา . 2559. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม .2 . กรุงเทพฯ :
บริษัทแมกแอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

ระบบขับถ่ายของมนุษย์

          ระบบการขับถ่าย หมายถึง การนำของเสียจากกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism)
ของเซลล์ออกนอกร่างกาย  ซึ่งสามารถกำจัดออกได้หลายทาง เช่น ทางไต ทางผิวหนัง ทางปอด
ทางลำไส้ใหญ่  ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการกำจัดของเสียทางไตเท่านั้น

การขับถ่ายของเสียทางไต
1.  โครงสร้างไต

           ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียออกจากเลือด ไตของคนมี 1  คู่  มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว
อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียง
น้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ  ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ
เป็นน้ำปัสสาวะ   โดยไตจะเชื่อมกับหลอดเลือด 2 ชนิด ได้แก่ หลอดเลือดอาร์เทอรี จะนำเลือดออก
จากหัวใจมายังไต  ซึ่งจะลำเลียงสารทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ที่ร่างกายต้องกำจัดออกไป
และหลอดเลือดเวน จะนำเลือดที่ผ่านการกรองจากไตกลับเข้าสู่หัวใจ

ภาพที่  8.1 อวัยวะในระบบขับถ่ายของเสียทางไต
ที่มาภาพ : https://nureeyah0136.wordpress.com/2013/12/19

          เมื่อผ่าไตตามยาวดังภาพที่ 8.2 พบว่า  ไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือบริเวณส่วนนอก
เรียกว่า คอร์เทกซ์ และบริเวณส่วนในเรียกว่าเมดัลลา ส่วนปลายของเมดัลลาจะยื่นเข้าไป
จรดกับส่วนที่เป็นโพรงเรียกว่ากรวยไต ซึ่งต่อกับท่อไต

ภาพที่  8.2 โครงสร้างภายในไต
ที่มาภาพ : http://stu.rbru.ac.th/~s5415262039/auchara/E.hl

           ไตแต่ละข้างประกอบด้วย หน่วยไต ประมาณ 1 ล้านหน่วย   แต่ละหน่วยเป็นท่อมีปลาย
ด้านหนึ่งเป็นรูปถ้วยเรียกว่า โบว์แมนส์แคปซูล ล้อมรอบกลุ่มหลอดเลือดฝอยเรียกว่า โกลเมอรูรัส
ผนังหลอดเลือดฝอยจะแนบชิดกับผนังของโบว์แมนส์แคปซูล  ต่อจากโบว์แมนส์แคปซูลจะมีท่อ
ของหน่วยไต  ปลายของท่อหน่วยไต จะเปิดออกที่ท่อรวม  แล้วออกสู่กรวยไต

2.  กระบวนการทำงานของไต   หน่วยไตทำหน้าที่ในการสร้างน้ำปัสสาวะ เริ่มจากเลือด
ซึ่งประกอบด้วยสารต่าง ๆ ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือด โปรตีน ไขมัน น้ำ ยูเรีย คลอไรด์ และกลูโคส
ออกจากหัวใจและเข้าสู่ไตทางหลอดเลือดอาร์เทอรี  และไปตามหลอดเลือดที่แตกเป็นแขนงเล็ก ๆ
เข้าสู่โกลเมอรูลัส ซึ่งอยู่ในโบว์แมนส์แคปซูล  ผนังของโกลเมอรูลัสทำหน้าที่กรองสารเข้าสู่
โบว์แมนแคปซูล โดยสารที่ผ่านการกรองเป็นสารขนาดเล็ก ได้แก่  น้ำ ยูเรีย คลอไรด์ และกลูโคส
ส่วนสารขนาดใหญ่จะไม่ผ่านการกรอง ได้แก่  เซลล์เม็ดเลือดแดง โปรตีน ไขมัน สารที่ผ่านการกรอง
จะเคลื่อนต่อมายังท่อหน่วยไต  ซึ่งบริเวณท่อหน่วยไตจะมีการดูดกลับสารที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย
ได้แก่ กลูโคสถูกดูดกลับเข้าสู่เส้นเลือดฝอยทั้งหมด น้ำและคลอไรด์ถูกดูดกลับเพียงบางส่วน ส่วนยูเรีย
เป็นของเสีย  จึงไม่ถูกดูดกลับที่บริเวณนี้  ดังนั้นยูเรีย  น้ำบางส่วนและคลอไรด์บางส่วนจะเคลื่อนเข้าสู่
ท่อรวม กรวยไต ท่อไต  มาสะสมในกระเพาะปัสสาวะ เรียกของเหลวนี้ว่า ปัสสาวะ  ดังแสดงในตารางที่ 8.1

ตารางที่ 8.1  การเปรียบเทียบปริมาณของสารต่าง ๆ ในน้ำเลือดและน้ำปัสสาวะ

ที่มา : หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ 4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  สสวท.

           ในกรณีที่ไตทำงานผิดปกติ การกรองและลำเลียงสารต่างๆ ที่หน่วยไตอาจบกพร่องไป ทำให้
มีสิ่งแปลกปลอมในปัสสาวะ เช่น โปรตีนบางชนิด กลูโคส หรือแม้กระทั่งเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังนั้น
การตรวจหาปริมาณของสารต่าง ๆ ในปัสสาวะจึงเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานของไต
หากไตทั้ง 2 ข้างไม่ทำงาน  ของเสียต่าง ๆ จะสะสมในร่างกาย  อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยผู้ที่ไต
ทำงานได้เพียงข้างเดียวยังสามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ แต่ผู้ป่วยที่ไตทั้งสองข้างไม่สามารถทำงานได้  แพทย์อาจใช้การฟอกเลือดด้วยไตเทียม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่แทนไต หรืออาจใช้วิธีการผ่าตัด
เปลี่ยนไต  ซึ่งไตที่ใส่ให้ผู้ป่วยนั้นได้รับมาจากผู้อื่น

ภาพที่ 8.3 การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ที่มาภาพ : http://www.siphhospital.com/th/news/article2/share/72

 

 

รวบรวมจาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2554. หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ 4 . กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และคณะ . 2560.ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว)
http://www.siphhospital.com/th/news/article2/share/72  สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2560
http://www.scimath.org/lesson-biology/item/-excretory-system สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2560

 

ระบบหายใจของมนุษย์

         สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องใช้พลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  ของการดำรงชีวิต พลังงานเหล่านี้
ได้มาจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างอาหารกับแก๊สออกซิเจน  ปฏิกิริยาเคมีนี้เป็นปฏิกิริยาสลายอาหาร
ให้เป็นพลังงานภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เรียกว่าการหายใจ

โครงสร้างในระบบหายใจของมนุษย์ระบบหายใจภาพที่ 6.1 โครงสร้างภายในระบบหายใจของมนุษย์
ที่มาภาพ : https://anatomyfivelife.files.wordpress.com/2016/03/24.jpg?w=470

 

          อากาศที่เข้าสู่ปอดจะเริ่มที่รูจมูก แล้วเข้าสู่โพรงจมูกที่มีเยื่อผิวที่มีเมือก คอยดักจับ
สิ่งสกปรกแล้วอากาศจะเคลื่อนที่ต่อไปยังคอหอย ผ่านกล่องเสียง จากนั้นอากาศจึงเข้าสู่
ท่อลม  ปลายสุดของท่อลมแยกออกเป็นหลอดลม   ไปสู่ปอดซ้ายและขวาทั้ง 2 ข้าง
ซึ่งจะแตกแขนงเล็กลงไปเรื่อย ๆ เรียกว่า  หลอดลมฝอย  ผนังของหลอดลมฝอยจะบางลง
ตามลำดับ ปลายสุดของหลอดลมฝอยจะมีถุงลมขนาดเล็ก ๆ ที่มีผนังบาง  เรียกว่า ถุงลม
เมื่ออากาศเข้าสู่ถุงลมซึ่งมีหลอดเลือดฝอยห่อหุ้มอยู่รอบ ๆ บริเวณนี้จะมีการแลกเปลี่ยนแก๊ส
เกิดขึ้นตำแหน่งแรก  โดยแก๊สออกซิเจนจากถุงลมจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย  และ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากหลอดเลือดฝอยจะแพร่เข้าสู่ถุงลม

กระบวนการหายใจ
กระบวนการหายใจมี  3  ขั้นตอน  ดังนี้

ขั้นแรก           เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสูดลมหายใจ
ขั้นที่สอง         เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมปอดกับหลอดเลือดฝอย
ขันที่สาม         เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ร่างกาย

1.  การสูดลมหายใจ
          การสูดลมหายใจเกิดขึ้นเมื่ออากาศผ่านรูจมูก  เข้าสู่โพรงจมูก ท่อลม หลอดลม หลอดลมฝอย
และถุงลม ตามลำดับ ในการสูดลมหายใจเข้าและออกจากปอดนั้น  เกิดจากการทำงานของอวัยวะ
2 ชนิด  คือ 
กะบังลมและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครง  ขณะที่กระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น กะบังลม
ลด
ต่ำลง  ทำให้ปริมาตรช่องอกเพิ่มขึ้น  ความดันอากาศภายในช่องอกลดลง อากาศภายนอกจึง
เข้าสู่ปอด เป็นการหายใจเข้า และในขณะที่กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง กะบังลมจะเลื่อนสูงขึ้น
ทำให้ปริมาตร
ช่องอกลดลง  ความดันอากาศภายในช่องอกเพิ่มขึ้น อากาศภายในปอดจึงออกสู่
ภายนอกร่างกาย
เป็นการหายใจออก

ภาพที่ 6.2 การทำงานของกะบังลมและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงระหว่างการหายใจเข้าและออก
ที่มาภาพ :  http://stu.rbru.ac.th/~s5415262039/auchara/D.html

           หากเปรียบเทียบการสูดลมหายใจเข้าออกกับการทำงานของปอดจำลอง พบว่าการสูดลมหายใจ
เข้าเปรียบเสมือนการดึงแผ่นยางลงช้า ๆ ปริมาตรของอากาศในกล่องเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ความดันอากาศภายในกล่องลดลงและน้อยกว่าความดันอากาศของภายนอก อากาศจากภายนอกจะเคลื่อนที่เข้าทาง
หลอดแก้วผ่านไปยังลูกโป่ง ซึ่งเปรียบเสมือนกับปอด  ทำให้ลูกโป่งพองออก ในทางกลับกันเมื่อดัน
แผ่นยางขึ้น ทำให้ปริมาตรของอากาศในกล่องลดลง  มีผลทำให้ความดันอากาศภายในกล่องเพิ่มขึ้น
และมากกว่าความดันอากาศของภายนอก ทำให้อากาศถูกดันออกจากลูกโป่งผ่านหลอดแก้วออกสู่
ภายนอก

 

 

วีดิทัศน์ที่ 6.1 แบบจำลองการทำงานของปอด
ที่มาวีดิทัศน์ : https://www.youtube.com/watch?v=OWhypFl6JGQ

2.  การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมปอดกับหลอดเลือดฝอย
          เมื่อมีการหายใจเข้าอากาศผ่านรูจมูก  เข้าสู่โพรงจมูก ท่อลม หลอดลม  หลอดลมฝอย

และถุงลม  ซึ่งบริเวณถุงลมมีหลอดเลือดฝอยห่อหุ้มอยู่รอบ ๆ บริเวณนี้จะมีการแลกเปลี่ยน
แก๊ส
เกิดขึ้นตำแหน่งแรก  โดยแก๊สออกซิเจนจากถุงลมจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย
และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากหลอดเลือดฝอยจะแพร่เข้าสู่ถุงลม

ภาพที่ 6.3  การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมปอดกับหลอดเลือดฝอย
ที่มาภาพ : http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/lamphu_s/
bodysystem/sec03p05.html

3.  การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ร่างกาย
          หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย  โดยแก๊ส
ออกซิเจน
จะแพร่ออกจากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่เซลล์ หลังจากนั้นแก๊สออกซิเจนจะเกิดปฏิกิริยาเคมี
กับกลูโคส
ภายในเซลล์   เกิดเป็นพลังงาน  น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังสมการ

            พลังงานที่ร่างกายสร้างขึ้นจะถูกนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย
ส่วน
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดฝอย กลับเข้าสู่หัวใจ
แล้วสูบฉีดไปยังหลอดเลือดฝอยรอบ ๆ ถุงลมปอด  นำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
พร้อมกับน้ำผ่านการหายใจออก

 

รวบรวมจาก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2554. หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยาเล่ม 2. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และคณะ . 2560.ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชการ(พว).

 

ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ (ตอนที่ 2) : ชีพจรและความดันเลือด

ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ (2) : ชีพจรและความดันเลือด

ชีพจร

ภาพที่ 4.1  การจับชีพจร
ที่มาภาพ : https://pantip.com/topic/33039354

         ชีพจร (Pulse หรือ Pulse rate หรือ Heart rate หรือ Heart beat)  คือ อัตราการเต้น
ของหัวใจ   โดยนับผ่านการเต้นของหลอดเลือดแดงในระยะเวลา 1 นาที  ทั้งนี้ตำแหน่งที่นิยมวัด
หรือจับชีพจร คือ ตำแหน่งด้านหน้าข้อมือส่วนที่ต่ำกว่าฐานของนิ้วหัวแม่มือ โดยการวางนิ้วชี้และ
นิ้วกลางลงบนตำแหน่งนั้น กดลงเบาๆ ก็จะรับรู้ได้ถึงการเต้นของหลอดเลือดแดง ทั้งนี้สามารถ
จับชีพจรได้ในตำแหน่งต่าง ๆ  ที่หลอดเลือดแดงขนาดกลางอยู่ติดกับผิวหนัง จึงสามารถคลำ
พบได้ง่าย (ปกติหลอดเลือดแดงจะอยู่ลึกคลำพบยาก หลอดเลือดส่วนใหญ่ที่มองเห็น
จะเป็นหลอดเลือดดำ)  เช่น ที่ขาพับด้านนิ้วหัวแม่เท้าที่ด้านในของขาหนีบ ที่ลำคอส่วนที่ติด
กับลูกกระเดือก เป็นต้น

ความดันเลือด

ภาพที่ 4.2 ความดันเลือด
ที่มาภาพ : http://m.laughinggif.com/gifs/f223mlrrkr

         ความดันเลือด หมายถึง แรงดันของเลือดในหลอดเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด
ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจสามารถหดตัวและคลายตัวได้  การหดตัวของหัวใจ เรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่า การบีบตัว และการบีบตัวของหัวใจนี้ทำให้เกิดความดันในหลอดเลือด ขณะที่หัวใจบีบตัว
จะดันเลือดออกไปสู่ส่วนต่าง ๆ  ของร่างกายตามหลอดเลือดอาร์เทอรี และขณะที่หัวใจคลายตัว
เลือดจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้อีกทางหลอดเลือดเวน หลอดเลือดที่เหมาะสำหรับวัดความดันเลือด
คือ หลอดเลือดอาร์เทอรีที่ต้นแขน  เนื่องจากเป็นหลอดเลือดที่อยู่ใกล้หัวใจ ค่าที่ได้จะใกล้เคียงกับ
ความดันเลือดในหัวใจมากที่สุด

ภาพที่ 4.3 การวัดความดันเลือด
ที่มาภาพ : http://www.genzaacare.com/high-blood-pressure.html

          ในการวัดความดันเลือดแพทย์จึงวัดค่าความดันเป็นตัวเลข 2 ค่า  มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
ของปรอท  เช่น 120/80 มิลลิเมตรของปรอท ตัวเลข 120 แสดงค่าความดันเลือดสูงสุดขณะที่
หัวใจบีบตัว  เรียกว่า ความดันซิสโทลิก (Systolic pressure)  ส่วนตัวเลข 80 แสดงค่าความดัน
เลือดต่ำสุด  ขณะที่หัวใจคลายตัว เรียกว่า ความดันไดแอสโทลิก (Diastolic pressure)  สำหรับ
เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการวัดความดันเลือด เรียกว่า มาตรวัดความดันเลือด(Sphygmomanometer)
และในการวัด  แพทย์จะใช้ควบคู่กับสเต็ทโทสโคป (Stethoscope)  โดยปกติค่าความดันเลือดจะอยู่
ที่  120/80  มิลลิเมตรของปรอท  ซึ่งค่าความดันเลือดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับปัจจัย
ดังต่อไปนี้
          1.  อายุ เมื่ออายุมากขึ้นความดันเลือดก็จะสูงขึ้นด้วย เนื่องจากความยืดหยุ่นของผนัง
หลอดเลือดลดลง  ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดแรงขึ้น
          2.  เพศ โดยทั่วไปเพศชายจะมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิงที่มีอายุเท่าๆ กัน
          3.  ขนาดของร่างกาย คนอ้วนมักจะมีความดันเลือดสูงกว่าคนผอม เพราะหลอดเลือด
อยู่ลึกมีชั้นไขมันมาก
          4.  อารมณ์ ผู้ที่โกรธง่ายและผู้ที่มีจิตใจตกอยู่ในภาวะเครียดเป็นประจำจะมีความดันเลือด
สูง  เนื่องจากร่างกายจะสร้างสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งมีผลต่อการบีบตัวของหัวใจและหลอดเลือด
          5.  อิริยาบถ ความดันเลือดขณะยืนจะสูงกว่าตอนนั่ง เพราะขณะยืนความดันเลือดที่บริเวณ
ขาจะสูงมากที่สุด  บริเวณศีรษะจะน้อยที่สุด เนื่องจากการไหลของเลือดจะไหลไปในทิศทางเดียว
กันกับแรงโน้มถ่วงของโลกได้ดีกว่าทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก และความดันเลือด
ขณะนั่งจะสูง กว่าตอนนอนเพราะขณะที่นอนความดันเลือดทุกส่วนของร่างกายจะใกล้เคียงกัน                      6.  การออกกำลังกายและการทำงาน ขณะออกกำลังกายและทำงาน ร่างกายจะมีความดันเลือด
สูงกว่าบุคคลในภาวะปกติ

Untitled

รวบรวมจาก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2554. หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์ 4 . กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และคณะ . 2560.ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชการ (พว)
http://haamor.com/th/    สืบค้นเมื่อ 19  พฤษภาคม 2560
http://www.scimath.org/article-biology/item/334-pulse  สืบค้นเมื่อ 19  พฤษภาคม 2560

ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์

            ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์   ทำหน้าที่หมุนเวียนเลือดไปตามส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย
เพื่อลำเลียงแก๊สออกซิเจน และสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย
พร้อมกับนำแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์และของเสียไปยังบริเวณที่ร่างกายขับออก
ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ประกอบด้วย หัวใจ หลอดเลือด และเลือด

1.  หัวใจ
             หัวใจทำหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความดันเลือด

ในหลอดเลือดแดง  เพื่อให้เลือดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทั่วถึง หัวใจ
ประกอบด้วย กล้ามเนื้อหัวใจ  มี  4  ห้อง แบ่งเป็นห้องบน  2  ห้อง เรียกว่าเอเตรียม (Atrium)
ห้องล่าง  2 ห้อง  เรียกว่า  เวนตริเคิล(Ventricle) ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายกับหัวใจห้องล่างซ้าย
จะมีลิ้นหัวใจไบคัสพิด (bicuspid valve) คั่นอยู่  และระหว่างหัวใจห้องบนขวาและหัวใจห้องล่างขวา
มีลิ้นหัวใจไตรคัสพิด (tricuspid valve) คั่นอยู่ ลิ้นหัวใจทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหล
ย้อนกลับ

1

ภาพที่  3.1 โครงสร้างของหัวใจ
ที่มาภาพ : http://kemikakhongklom.blogspot.com/2015/09/blog-post_16.html

การไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจ
           การไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจ เริ่มจากหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงจากปอด

ผ่านทางหลอดเลือดพัลโมนารี เวน แล้วหัวใจบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจไบคัสปิด ลงสู่หัวใจห้องล่างซ้าย
หัวใจบีบตัวดันเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ  ของร่างกายผ่านทางหลอดเลือดเอออร์ตา  และเปลี่ยนเป็นเลือด
ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง   เลือดคาร์บอนไดออกไซด์สูงจะไหลผ่านหลอดเลือดเวนาคาวากลับเข้าสู่
หัวใจห้องบนขวา  แล้วหัวใจบีบตัวดันเลือดผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด ลงสู่หัวใจห้องล่างขวา แล้วกลับ
เข้าสู่ปอดผ่านทางหลอดเลือดพัลโมนารี อาร์เทอรี  เพื่อเป็นวัฎจักรการหมุนเวียนเลือดในร่างกาย
เช่นนี้ตลอดไป

การไหลเวียนเลือดภายในหัวใจ

สรุปเป็นทิศทางการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจ ได้ดังแผนภาพต่อไปนี้

Capture

แผนภาพที่ 3 ทิศทางการลำเลียงเลือดผ่านหัวใจ

2. หลอดเลือด

หลอดเลือด

ภาพที่ 3.3 ประเภทของหลอดเลือด
ที่มาภาพ : http://119.46.166.126/self_all/selfaccess8/m2/559/lesson1/web/body2.php

          เลือด (Blood) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของเหลว 55 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรียกว่า
“น้ำเลือดหรือพลาสมา(plasma)”  และส่วนที่เป็นของแข็งมี 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดแดง
เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด

giphy.gif

ส่วนประกอบของเลือด

ภาพที่ 3.4 ส่วนประกอบของเลือด
ที่มาภาพ : http://119.46.166.126/self_all/selfaccess8/m2/559/lesson1/web/body2.php

รวบรวมจาก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2554. หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์ 4 . กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และคณะ . 2560.ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชการ (พว)
http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/  สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2560
 สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2560

ทำแบบฝึกหัดทบทวนเพิ่มเติมได้ที่นี่  http://www.sciencebyteacherpimnucha.com/?page_id=683